บทความ

ข้อแนะนำ 10 ประการ ในการฝึกฝนตนเองเป็นนักพูดที่ดี
  1.   พูดเรื่องที่เรารู้ดีที่สุด
          2.
   เตรียมตัวให้พร้อม  ความพร้อมทำให้ไม่ประหม่า หรือถ้าเคยประหม่ามากก็จะประหม่าน้อยลง
          3.   สร้างความเชื่อมั่นให้กับตนเอง บอกกับตัวเองว่า  เรื่องนี้ หัวข้อนี้ สำหรับที่นี่ ฉันรู้ดีที่สุด  แล้วพูดไปเลย
          4.
   ถ้าทำทั้งสามข้อแล้วยังไม่หายประหม่า  มีข้อแนะนำคือ
                       สูดลมหายใจลึก  หรือดื่มน้ำสักแก้ว
                       บอกตัวเองในใจว่า  วันนี้สู้ตาย  อย่าบอกว่า  วันนี้ต้องตายแน่ 
                       รวบรวมสติและกำลังใจ  พูดเสียงดังตั้งแต่คำแรก หรือประโยคแรก แล้วทุกอย่างจะดีขึ้น 
          5.   แต่งกายให้สะอาด  เรียบร้อย  เหมาะสม
          6.
   ปรากฏกายอย่างกระตือรือร้น ทำตนให้สดชื่น กระปรี้กระเปร่า แสดงถึงความพร้อม ความเต็มใจที่    จะพูด  นอกจากจะทำให้คนฟังรู้สึกอยากฟังแล้ว  ยังช่วยโน้มนำจิตใจของเราให้อยากพูด อยากแสดงออกมาอีกด้วย
          7.   ใช้กริยาท่าทางประกอบการพูดไปด้วย  อย่ายืนนิ่ง   และอย่าให้มือเกะกะวุ่นวาย  ใช้ให้พอเหมาะและตรงกับเรื่องที่พุด  กริยาท่าทางต้องใช้เสริมการพุด  ไม่ใช่ขัดขวางหรือทำลายความสนใจในการพูด  จงพูดจากความรู้สึกที่จริงใจ  แล้วท่าทาง  มือไม้ของท่านจะเป็นไปเองตามธรรมชาติ
          8.   พยายามสบสายตากับผู้ฟัง  การสบสายตาเป็นวิธีหนึ่งที่จะดึงความสนใจของผู้ฟัง   ถ้าเรามองหน้าผู้ฟัง  ผู้ฟังก็จะมองเรา  เวลาพูดอย่าหลบตาผู้ฟัง  อย่ามองพื้น มองเพดาน มองต้นฉบับ หรือมองข้ามผู้ฟังออกไปข้างนอก  เมื่อใดการสื่อสารทางสายตาขาดหายไป  การสื่อสารทางจิตใจก็ขาดลง
          9.
   ใช้น้ำเสียงให้เป็นไปตามธรรมชาติ  คือ  พูดให้เหมือนกับการคุยกัน  อย่าดัดเสียงให้ผิดไปจากธรรมชาติ  เสียงของนักพูดที่ดีมิได้หมายความว่า  ต้องหวาน กังวานไพเราะเหมือนเสียงนักร้อง  แต่หมายความว่าต้องเป็นเสียงที่ออกมาจากความรู้สึกที่จริงใจ  เต็มไปด้วยพลัง  มีชีวิตชีวา สามารถตรึงผู้พูดเอาไว้ได้  ธรรมชาติของเสียงเราปรับปรุงไม่ได้  แต่บุคลิกภาพของเสียงสามารถปรับปรุงได้   ดังนี้
            
  พูดให้เสียงดังฟังชัด  จังหวะการพูดอย่าให้ช้าหรือเร็วเกินไป
              จังหวะการพูดอย่าให้ช้าเกินไป จะทำให้น่าเบื่อ และอย่ารัวหรือเร็วเกินไป จะทำให้ฟังไม่ทัน พูดให้ได้จังหวะพอดี
             อย่าพูดเอ้อ  อ้า  ทำให้เสียเวลา เสียรสชาติของการพูด  ทำให้ผู้ฟังรำคาญ   เอ้อ..เสียเวลา  อ้าเสียคน
            
  อย่าพูดเหมือนอ่านหนังสือ หรือท่องจำ
            
  ใส่ความกระตือรือร้นลงไปในน้ำเสียง ใส่อารมณ์  ความรู้สึก  อย่าพูดราบเรียบ   ขณะพูด  ใช้เสียงหนัก เบา  ใช้เสียงสูง  ต่ำ มีการเว้นจังหวะการพูด การทอดเสียง การเว้นจังหวะ การรัวจังหวะการพูด การหยุดหายใจเล็กน้อยก่อนหรือหลังคำพูดที่สำคัญ 
            10.   การพูดที่ดีต้องมีการยกตัวอย่างประกอบเพื่อให้เข้าใจง่ายขึ้น  พยายามหาเรื่องสนุกสนานมาสอดแทรก  แต่อย่าให้ตลกโปกฮาเสียจนขาดเนื้อหาสาระ  ให้มีลักษณะ  ฟังสนุก และ มีสาระ  บ้า