มนุษย์มีความจำเป็นต้องมีการติดต่อสื่อสารซึ่งกันเเละกัน เพื่อถ่ายทอดความรู้ ความคิด ความรู้สึกให้ผู้อื่นรับรู้ ซึ่งต้องใช้ทักษะในการพูด
ข้อควรปฏิบัติในการพูด
๑. เตรียมตัวให้พร้อมก่อนพูดทุกครั้ง โดยค้นคว้า รวบรวม และเรียบเรียงเนื้อหาสาระเกี่ยวกับเรื่องที่จะพูด ควรเตรียมพร้อมที่จะตอบคำถามของผู้ฟัง
๒. ต้องมีสมาธิดีในการพูดทุกครั้ง ผู้พูดควรรักษาสุขภาพให้สมบูรณ์เป็นปกติ และขจัดความวิตกกังวล
๓. ต้องรู้จักรักษาเวลา ผู้พูดต้องไปถึงสถานที่พูดก่อนเวลาพอสมควร และพูดให้จบกำหนดเวลา และควรมีเวลาเหลือเพื่อให้โอกาสผู้ฟังได้วักถาม
๔. พยายามปรับปรุงวิธีการพูดให้ผู้ฟังเข้าใจง่าย โดยพูดให้ชัดเจน เข้าใจง่าย ไม่พูดเร็วหรือช้าจนเกินไป ข้อความที่พูดควรสั้นกะทัดรัดตรงประเเด็น และได้เนื้อหาสาระสมบูรณ์
๕. เสนอความคิดเห็นใหม่ ๆ เกี่ยวกับเรื่องที่พูด
๖. เเสดงความนับถือผู้ฟัง ไม่ใช้คำพูดหยาบคาย และต้องให้เกียรติผู้ฟัง
๗. เคารพ และให้เกียรติผู้อื่น ผู้พูดต้องประกาศชื่อผู้ที่กล่าวอ้างคำพูด หรือความคิดของผู้นั้นเสมอ
๘. ต้องมีความรับผิดชอบต่อการพูด โดยพร้อมเสมอที่จะรับฟังข้อคิดเห็น และคำวิจารณ์วิจารณ์
๙. ต้องตั้งใจฟังผู้อื่น ถ้าผู้พุดได้พูดเป็นลำดับสุดท้าย ควรฟังผู้อื่นพูดอย่างสนใจ ไม่ควรเตรียมการพูดของตนเองขณะที่ฟัง
มารยาทในการพูด
มารยาทในการพูด หมายถึง ผู้พูดที่มีกิริยาวาจาเรียบร้อย ท่าทางสง่างาม อ่อนโยน หน้าตายิ้มเเย้มเเจ่มใส
การฝึกตนให้มีมารยาทในการพูด มีดังนี้
๑. รู้จักกล่าวคำปฏิสันธาน
๒. เป็นผู้ฟังที่ดี
๓. รู้จักควบคุมอารมณ์ และน้ำเสียง
๔. ไม่พูดจาข่มขู่ผู้ฟัง
๕. รู้จักใช้คำสุภาพ
คุณธรรมในการพูด หมายถึง คุณงามความดีในการพูด ได้แก่ พูดถูกต้องตามกาลเทศะ พูดคำสัตย์จริง พูดอ่อนหวาน พูดมีประโยชน์ และพูดมีเมตตาจิต
ผู้พูดจำเป็นต้องคำนึงจรรยา มารยาท และคุณธรรม เพื่อให้การพูดเกิดสัมฤทธิผล ก่อให้เกิดประโยชน์ทั้งส่วนตัวและส่วนรวมอย่างเเท้จริง ดังคำกล่าวที่ว่า 'พูดดีเป็นศรีแก่ตัว'
ที่มาและได้รับอนุญาตจาก :
เอกรินทร์ สี่มหาศาล และคณะ. ภาษาไทย ป.๖. พิมพ์ครั้งที่ ๑. กรุงเทพฯ: อักษรเจริญทัศน์.